วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชีวิตเมื่อทรงพระเยาว์ และการศึกษา


หลังจากพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จึงตกเป็นพระราชภาระในสมเด็จพระบรมราชชนนีที่จะทรงอภิบาลพระราชโอรสพระราชธิดาทั้ง 3 พระองค์ตามลำพัง พระราชภาระนี้ช่างใหญ่หลวงนัก แต่ด้วยเดชะพระบารมี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระปรีชาสามารอย่างยิ่ง ทรงอภิบาลรักษาพระโอรสและพระธิดาให้ทรงพระเจริญ เพียบพร้อมด้วยพระราชจริยาวัตรสมบูรณ์ด้วยพระสติปัญญาสมพระอิสริยยศ และเป็นความหวังของปวงชนชาวไทยจนกระทั่งบัดนี้
สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระราชดำริว่า การเลี้ยงดูอบรมเด็กนั้นมีหลักสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ เด็กต้องมีพลานามัยสมบูรณ์ประการหนึ่ง และเด็กต้องอยู่ในระเบียบวินัย โดยไม่บังคับเข้มงวดจนเกินไป




สมเด็จพระบรมราชชนนีให้การอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงถือตามหลักดังกล่าวนั้น ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่เรื่องพระกระยาหารของพระราชโอกาสและพระธิดา ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทรงให้เล่นออกกำลังกาย และทรงสั่งสอนให้อยู่ในระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ต่อเวลา เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้ศึกษาวิชาพยาบาลจากศิริราชพยาบาล และตอนประทับอยู่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้ทรงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านอนามัยและโภชนาการ ซึ่งความรู้เหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการอภิบาลบำรุงพระราชโอรสและพระราชธิดาได้เป็นอย่างดีเมื่อยังทรงพระเยาว์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ พระตำหนักใหม่วังสระปทุม ถนนพญาไทย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และพระเชษฐภคินี จากตำหนักใหม่ที่ประทับมีถนนสู่พระตำหนักใหญ่ที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งเป็นพระตำหนักอยู่ในบริเวณเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปเข้าเฝ้า สมเด็จพระอัยยิกาเสมอ ๆ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐาธิราช และพระเชษฐภคินี ครั้งหนึ่งเมื่อยังทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล่นสนุกบนรถลากสองล้อจนพลัดตกลงมาเป็นแผล จนสมเด็จพระบรมราชชนนีไม่นำเข้าเสด็จขึ้นเฝ้า ด้วยทรงเกรงว่าสมเด็จพระอัยยิกาจะทรงเป็นห่วงพระราชนัดดานั่นเอง



สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเห็นว่า การเล่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก จึงทรงสนับสนุนให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้ทรงเล่น เพื่อเป็นการออกกำลังกายพระรวรกายเหมือนธรรมชาติเด็กทั่ว ๆ ไป แม้แต่การเล่นน้ำ เล่นไฟ หรือเล่นดินเล่นทรายที่ผู้ใหญ่ไม่ยอมให้เด็ก ๆ เล่น เพราะเกรงจะเป็นอันตรายหรือกลัวสกปรกเปื้อนเปรอะ แต่สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงอนุญาตให้พระราชโอรส พระราชธิดา ทรงเล่นได้ ท่านทรงควบคุมดูแลด้วยพระองค์เอง โดยให้เล่นในที่ปลอดภัย เล่นในบ่อที่น้ำตื้น ๆ หรือในบริเวณที่ทรงสามารถควบคุมไม่ให้เกิดอันตราย หรือสกปรกเลอะเทอะ ฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงพระเยาว์จึงทรงมีโอกาสได้เล่นสนุกอย่างเด็ก ๆ ทั่วไป ทรงเล่นขุดดิน ทรงเล่นทราย เล่นน้ำ แม้กระทั่งทรงเล่นจุดไฟ... ทั้งยังทรงเล่นขับรถยนต์ด้วย แม้จะเป็นรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้แล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงให้มหาดเล็กยกขึ้นวางบนคานไม้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวัยพระเยาว์ พร้อมด้วยพระบรมเชษฐาก็ทรงขึ้นไปนั่งทำเหมือนขับรถจริง ๆ แม้ว่าสมเด็จพระบรมราชชนนีจะทรงสนับสนุนให้พระราชโอกาสและพระราชธิดาทรงเล่นตามประสาเด็ก ๆ แต่ทั้งสามพระองค์ก็ทรงอยู่ในระเบียบวินัย ต้องทรงปฏิบัติตามเวลา ไม่ใช่เถลไถลไปทำโน่นทำนี่ และต้องทรงตรงต่อเวลาอีกด้วย



เมื่อครั้งประทับอยู่พระตำหนักใหม่ ในวังสระปทุม จะตีฆ้องบอกสัญญาณให้รู้ว่า ถึงเวลาเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว บางครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมเชษฐาทรงเล่นเพลิดเพลิน ไม่ทรงเลิก สมเด็จพระบรมราชชนนีจะทรงให้เล่นต่อไป แต่ครั้งถึงเวลาบรรทมตอนบ่ายพระองค์จะทรงตามให้เสด็จมาชำระพระหัตถ์ให้สะอาด แล้วให้เสด็จขึ้นแท่นบรรทมโดยไม่ทรงอนุญาตให้เสวยพระกระยาหาร จนกว่าจะถึงเวลาเสวยนมตอนบ่ายสีโมงเย็น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราช และพระเชษฐภคินี ต่างทรงถูกฝึกฝนความมีระเบียบวินัยมาแต่ทรงพระเยาว์ สมเด็จพระอัยยิกาก็ทรงสนับสนุนให้พระราชนัดดาอยู่ในระเบียบวินัย วันหนึ่งพระราชนัดดามาเฝ้า ฯ ที่โต๊ะเสวย ทอดพระเนตรเห็นอาหารหลากหลายชนิด ทรงชี้พระหัตถ์ว่า
“นี่น่าอร่อย นี่ก็น่าอร่อย” สมเด็จพระอัยยิกาใคร่จะประทานครั้งนึกได้“ไม่ได้...ไม่ได้ แม่เขาจะว่า” จึงทรงให้คนห่อแบ่งเอาไปถวายที่พระตำหนักใหม่ให้เสวยเมื่อถึงเวลาที่จะเสวย



เรื่องการอบรมเด็กให้มีระเบียบวินัย ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา และทรงมีครอบครัวของพระองค์เอง ก็ทรงนำมาเป็นหลักปฏิบัติในการอบรมพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าว่า เมื่อทรงพระเยาว์พระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ต้องทรงปฏิบัติตามตารางเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงวางไว้ให้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด เช่น
“เช้าต้องดูหนังสือ กินข้าว แล้วเดินไปโรงเรียน ตอบบ่ายกลับมาขึ้นเฝ้า ฯ ให้ท่านเห็นหน้าเห็นตา บ่ายสองสามโมงออกอากาศ (เดินเล่น) ห้าโมงขึ้นมากินข้าวเย็น ทุ่มหนึ่งก็เข้านอน”
ในพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่เยาวชนของชาติ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 8 มกราคม พ.ศ.2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ถึงความสำคัญของการมีระเบียบวินัยดังนี้
“เด็ก ๆ ต้องฝึกหัดอบรมทั้งกายทั้งใจให้เข้มแข็ง เป็นระเบียบและสุจริต เพื่อประโยชน์ของตนในภายหน้า เพราะคนที่ไม่เข้มแข็งไม่สามารถควบคุมกายใจให้อยู่ในระเบียบและความดี ยากนักที่จะได้ประสบความสำเร็จ และความเจริญอย่างแท้จริงในชีวิต”เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ 5 พรรษา ได้เข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร




หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 สถานการณ์การเมืองที่ผันแปร ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เป็นผลให้สถานภาพของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการบางกลุ่มต้องออกจากราชการ เจ้านายหลายพระองค์ต้องเสด็จออกจากประเทศไทยไปพำนักอยู่ในประเทศต่างแดน เมื่อความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 กับรัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้า “คณะราษฎร” มากยิ่งขึ้น จนไม่อาจจะประนีประนอมได้ ความยุ่งยากทางการเมืองก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราช แบะพระเชษฐภคินี
ดังนั้น ในราวต้นปี พ.ศ.2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พาพระโอรสและพระธิดาเสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ (Lausanne) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติในเดือนมีนาคม พ.ศ.2477 และทรงสละพระราชสิทธิในการแต่งตั้งผู้สืบราชสมบัติด้วย รัฐบาลจึงได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์ เพราะทรงอยู่ในลำดับที่หนึ่ง แห่งการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล พุทธศักราช 2467 ซึ่งตอนนั้นพระบรมเชษฐามีพระชนมายุ 9 พรรษาเท่านั้น


หลังจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์ การดำรงพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเชษฐภคินี คงใช้ชีวิตที่สงบเรียบง่าย ทั้ง 3 พระองค์ยังประทับและทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต่อไป แต่ในครั้งนั้นได้ทรงย้ายไปประทับ ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา ที่เมืองพุลลี่ (Pully) ใกล้กับทะเลสาบเลอมัง ซึ่งกว้างขวางกว่าพระตำหนักหลังเดิม เพื่อความเหมาะสมกับพระราชสถานะใหม่ที่ทรงได้รับ ซึ่งสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช” เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.247ต่อมาในปี พ.ศ.2478 พระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมเชษฐาธิราช ย้ายจากโรงเรียนเมียร์มองต์ (Miremont) ที่ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ มาทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนแห่งใหม่ชื่อโรงเรียนนูเวลล์ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ทรงเรียนจนสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปลาย และทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ (Lausanne University) โดยทรงเลือกศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์แขนงวิศวกรรมศาสตร์ ตอนแรกทรงเป็นนักศึกษาไป-กลับ จนสองปีสุดท้ายจึงทรงเป็นนักศึกษาประจำ เพื่อต้องการทรงทราบชีวิตนักศึกษาประจำ ที่ต้องทำอะไรด้วยตัวเองทุกอย่าง

ตลอดเวลาที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลทรงอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาให้ดำรงชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายเยี่ยงสามัญชน ทรงสอนให้รู้จักประหยัดรู้คุณค่าของเงิน และมิให้ทรงรังเกียจงานสุจริตทุกประเภท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชทรงใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเพราะพระชนมพรรษาห่างกันเพียง 2 พรรษาเท่านั้น ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดของหลายสิ่งคล้ายกัน แม้แต่การทรงฉลองพระองค์พระองค์มักจะทรงเลือกแบบเดียวกัน ทรงโปรดเรื่องเรือรบและเครื่องบินเหมือนกัน ทรงรวบรวมสมุดภาพเรือรบและเรือจำลงไว้หลายลำ เมื่อพระชนมพรรษามากขึ้นก็ทรงโปรดดนตรี และทรงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเหมือนกัน
แม้ขณะนั้นจะทรงเป็น “เจ้าฟ้า” แล้ว แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงรับเงินใช้ส่วนตัวไม่มากนัก เงินที่ทรงรับพอจะซื้อช็อกโกแลตหรือหนังสือ และของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น สมเด็จพระบรมราชชะนีทรงสอนให้รู้จักประหยัดอดออมเงิน ให้ทรงรู้จักเก็บเงินฝากธนาคาร ทรงชอบทำและประดิษฐ์ของเล่นเอง สมเด็จพระบรมราชชนนีไม่ใคร่จะทรงซื้อให้บ่อยครั้งนัก เว้นแต่ช่วงวันปีใหม่ และวันพระราชสมภพ โดยมากจะเป็นของชิ้นโต ๆ ที่พระราชโอรส พระราชธิดาทูลขอล่วงหน้า
สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงสนับสนุนไห้ทรงทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น ทรงต่อเรือลำเล็ก ๆ พระองค์และสมเด็จพระบรมเชษฐา ทรงช่วยกันเปิดตำราที่สอนการประกอบวิทยุ ทรงต่อวิทยุตามตำราจนสำเร็จใช้การได้ ทรงคิดสร้างแบบและทรงต่อเรือใบเล็กด้วยพระองค์เองในระหว่างปี พ.ศ.2509-2510 พระราชทานชื่อว่า เรือมด, เรือซูเปอร์มด และเรือไมโครมดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติตามพุทธภาษิตเกี่ยวกับการประดิษฐ์ของใช้เองว่า ภตฺเต ผู้ทำเองย่อมรื่นรมย์
จากหนังสือ ในหลวงของปวงไทย โดย โชติ ศรีสุวรรณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น